หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กลุ่มเครือข่าย ลิกไนต์ 2

นายสมคิด  ธรรมสิทธิ์
รองผู้อำนวยการ สพป.ลำปาง เขต 1

นางจารุวรรณ  สายคำฟู
ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1
ภาพและเหตุการณ์ในกลุ่มเครือข่ายลิกไนต์2
จากผลการทดสอบ NT ชั้นป. 3 และ O-NET ป.6
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น

          จากการวิเคราะห์ผลการสอบในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของกลุ่มเครือข่ายลิกไนต์ 2 ซึ่งพบว่ามีผลการสอบวัด เพิ่มขึ้นทุกโรงเรียนนั้น มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้นหลายประเด็น ดังนี้
         1. มีการบริหารจัดการขับเคลื่อนกระบวนการการพัฒนาการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งระบบ ในระดับกลุ่มเครือข่าย
         
2. กลุ่มเครือข่ายลิกไนต์ 2  มีการกำหนดนโยบายและจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
ทุกโรงเรียน เพื่อจัดการความรู้ให้กับครู หรือเตรียมตัวครูผู้สอนทั้งระบบเครือข่าย ตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำสื่อ และเทคนิคการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  ซึ่งเป็นแผน
การยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ ของกลุ่มเครือข่ายลิกไนต์
2
         3. ทุกโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายลิกไนต์ 2  มีการเตรียมตัวผู้เรียนก่อนสอบ  โดยวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนรายบุคคล  และจำแนกนักเรียนตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง กลุ่มอ่อน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนทั้ง 3 กลุ่ม
 4. ทุกโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายลิกไนต์ 2 กำหนดกิจกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ นวัตกรรมการเรียนรู้และโครงการพิเศษต่างๆ รวมทั้งการจัดทำโครงการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้สูงขึ้น  เพื่อแก้ปัญหา ปรับปรุงปัญหานักเรียนแต่ละกลุ่ม กำหนดเป้าหมายของผลสำเร็จโดยให้มีตัวชี้วัดที่ผลคะแนนสอบระดับประเทศ  O-NET, NT หรือผลคะแนนสอบระดับชั้นเรียน สูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2553
  5. ทุกโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายลิกไนต์ 2 กำหนดให้มีการประสานงานการพัฒนาผู้เรียนร่วมกับผู้ปกครอง เพื่อเฝ้าระวัง ติดตาม แก้ไขปัญหา และพัฒนาการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
          6. ทุกโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายลิกไนต์ 2 กำหนดให้มีโครงการ/กิจกรรม สอนซ่อมเสริมและติวนักเรียนก่อนสอบ โดยความรับผิดชอบในการสอนของครูในการสอนเสริมนักเรียนที่เรียนเก่ง สอนซ่อมนักเรียนที่เรียนอ่อน ที่มีการสอนเน้นให้ผู้เรียนมีการคิดวิเคราะห์ สรุปข้อมูลผลการศึกษาเรียนรู้ ด้วยเหตุผล
          7. ทุกโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายลิกไนต์ 2 กำหนดให้มีโครงการจัดกิจกรรมเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การฟัง การดูและการพูด การใช้ภาษา กิจกรรมเสริมทักษะทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
8. ทุกโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายลิกไนต์ 2 มีการจัดกิจกรรมท่องสูตรคูณทุกวัน และจัดให้มีโครงการคณิต คิดเลขเร็ว / กิจกรรมแข่งขันทักษะทางคณิตศาสตร์
   9.  ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารและฝ่ายวิชาการ มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในกระบวนการการพัฒนาการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร่วมกัน โดยวิเคราะห์สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน วางแผนการนิเทศ ติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และมีกระบวนการนิเทศและการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร

อุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนา
            1. ปัญหา/อุปสรรค ด้านครู

                   1.1 เทคนิคการจัดการเรียนรู้ ในครูบางคนยังไม่หลากหลาย
                   1.2 การใช้สื่อ นวัตกรรมการสอน เทคโนโลยี ในครูบางคน ยังไม่หลากหลายและไม่ทันสมัย เนื่องจากข้อจำกัดทั้งด้านตัวบุคคล และข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ที่ตั้งของโรงเรียน/กลุ่มเครือข่าย
                   1.3 การวิจัยในชั้นเรียน ในครูบางคนยังไม่หลากหลาย และไม่มีความต่อเนื่อง

            2. ปัญหา/อุปสรรค ด้านนักเรียน

                   2.1 พื้นฐานความรู้เดิม ของนักเรียนบางคน/บางกลุ่มสาระการเรียนรู้ ไม่มีการพัฒนา หรือไม่มีความเหมาะสมตามระดับชั้นเรียน
                   2.2 ปัญหาจากครอบครัว/ผู้ปกครอง ด้านความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ติดตาม แก้ไขปัญหา และพัฒนาการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนบางคน

            3. ปัญหา/อุปสรรค ด้านการสนับสนุน ของโรงเรียนเกี่ยวกับ
                    3.1 สื่อ อุปกรณ์การสอน และเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ไม่มีคุณภาพ/ไม่เพียงพอ ในบางโรงเรียน/บางชั้นเรียน
                    3.2 การจัดห้องเรียน / บรรยากาศในชั้นเรียน ที่ไม่มีความเป็นปัจจุบันและไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ในบางโรงเรียน/บางชั้นเรียน
                   3.3 แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในโรงเรียนเช่นห้องสมุด ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ในบางโรงเรียน ยังมีการจัดกิจกรรม หรือจัดสื่อ/อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ไม่เพียงพอและไม่เป็นระบบ ต่อการให้บริการ

จากการทดสอบ O-NET ชั้น ม.3
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ปีการศึกษา 2553-2554 พบว่า ปีการศึกษา 2554 พัฒนาเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2553  และเมื่อเปรียบเทียบผลการสอบระดับเขตพื้นที่การศึกษา กับระดับประเทศ พบว่า มีผลการสอบลดลง  เมื่อพิจารณาในระดับสถานศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เปรียบเทียบระหว่าง ปีการศึกษา 2553-2554 พบว่า มีโรงเรียนที่มีผลการสอบปีการศึกษา 2554 พัฒนาเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2553  จำนวน 19 โรงเรียนจาก 24 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 79.17 โดยโรงเรียนที่มีผลการสอบสูงที่สุดคือโรงเรียนอนุบาลแม่เมาะ  รองลงมา 5 ลำดับ คือลำดับที่ 1 โรงเรียนสบป้าดวิทยา รองลงมาลำดับที่ 2 โรงเรียนบ่อสี่เหลี่ยมวิทยา รองลงมาลำดับที่ 3 โรงเรียนบ้านแม่ตีบ ที่ 4 โรงเรียนสบเมาะวิทยา และรองลงมาลำดับที่ 5 โรงเรียนบ้านบ่อห้อ
           เมื่อเปรียบเทียบผลการสอบในรายโรงเรียนกับผลการสอบระดับเขตพื้นที่การศึกษา พบว่ามีผลการสอบในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2554 พัฒนาเพิ่มขึ้น
จากระดับเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน
11 โรงเรียนจาก 24 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 45.83 โดยโรงเรียนที่มีผล การสอบเพิ่มขึ้นสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบผลการสอบในรายโรงเรียนกับผลการสอบระดับเขตพื้นที่การศึกษา คือโรงเรียนอนุบาลแม่เมาะ        และเมื่อเปรียบเทียบผลการสอบในรายโรงเรียนกับผลการสอบระดับประเทศ  พบว่า ผลการสอบในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2554 พัฒนาเพิ่มขึ้นจาก ระดับประเทศ จำนวน 11 โรงเรียน จาก 24 โรงเรียน เช่นกันโดย คิดเป็นร้อยละ 45.83 โดยโรงเรียนที่มีผล การสอบเพิ่มขึ้นสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบผลการสอบในรายโรงเรียนกับผลการสอบระดับประเทศ คือโรงเรียนอนุบาลแม่เมาะ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น
          จากการวิเคราะห์ผลการสอบในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งพบว่ามีผลการสอบวัด เพิ่มขึ้นเกือบทุกโรงเรียนจำนวน 19 โรงเรียนจาก 24 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 79.17 นั้น มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้นหลายประเด็น ดังนี้
         1. มีการบริหารจัดการขับเคลื่อนกระบวนการการพัฒนาการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งระบบ ในระดับกลุ่มเครือข่าย
         
2. กลุ่มเครือข่าย มีการกำหนดนโยบายและจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนทุกโรงเรียน เพื่อจัดการความรู้ให้กับครู หรือเตรียมตัวครูผู้สอนทั้งระบบเครือข่าย
       
 3. โรงเรียนส่วนใหญ่ มีการเตรียมตัวผู้เรียนก่อนสอบ  โดยวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนรายบุคคล 

 4. โรงเรียนส่วนใหญ่ กำหนดกิจกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ นวัตกรรมการเรียนรู้และโครงการพิเศษต่างๆ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้สูงขึ้น  เพื่อแก้ปัญหา ปรับปรุงปัญหานักเรียน โดยกำหนดเป้าหมายของผลสำเร็จโดยให้มีตัวชี้วัดที่ผลคะแนนสอบระดับประเทศ  O-NET, NT หรือผลคะแนนสอบระดับชั้นเรียน สูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2553
         5. โรงเรียนส่วนใหญ่ กำหนดให้มีการประสานงานการพัฒนาผู้เรียนร่วมกับผู้ปกครอง เพื่อเฝ้าระวัง ติดตาม แก้ไขปัญหา และพัฒนาการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
         6. โรงเรียนส่วนใหญ่ กำหนดให้มีโครงการ/กิจกรรม สอนซ่อมเสริมและติวนักเรียนก่อนสอบ โดยความรับผิดชอบในการสอนของครูในการสอนเสริมนักเรียนที่เรียนเก่ง สอนซ่อมนักเรียนที่เรียนอ่อน
         
7.  ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารและฝ่ายวิชาการ มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในกระบวนการการพัฒนาการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร่วมกัน โดยวิเคราะห์สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน วางแผนการนิเทศ ติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และมีกระบวนการนิเทศและการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร


อุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนา

      1. ปัญหา/อุปสรรค ด้านครู
                   1.1 เทคนิคการจัดการเรียนรู้ ในครูบางคนยังไม่หลากหลาย
                   1.2 การใช้สื่อ นวัตกรรมการสอน เทคโนโลยี ในครูบางคน ยังไม่หลากหลายและไม่ทันสมัย เนื่องจากข้อจำกัดทั้งด้านตัวบุคคล และข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ที่ตั้งของโรงเรียน/กลุ่มเครือข่าย
                   1.3 การวิจัยในชั้นเรียน ในครูบางคนยังไม่หลากหลาย และไม่มีความต่อเนื่อง

            2. ปัญหา/อุปสรรค ด้านนักเรียน

                   2.1 พื้นฐานความรู้เดิม ของนักเรียนบางคน/บางกลุ่มสาระการเรียนรู้ ไม่มีการพัฒนา หรือไม่มีความเหมาะสมตามระดับชั้นเรียน

                   2.2 ปัญหาจากครอบครัว/ผู้ปกครอง ด้านความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ติดตาม แก้ไขปัญหา และพัฒนาการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนบางคน

            3. ปัญหา/อุปสรรค ด้านการสนับสนุน ของโรงเรียนเกี่ยวกับ

                   3.1 สื่อ อุปกรณ์การสอน และเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ไม่มีคุณภาพ/ไม่เพียงพอ ในบางโรงเรียน/บางชั้นเรียน
                   3.2 การจัดห้องเรียน / บรรยากาศในชั้นเรียน ที่ไม่มีความเป็นปัจจุบันและไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ในบางโรงเรียน/บางชั้นเรียน
                   3.3 แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในโรงเรียนเช่นห้องสมุด ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ในบางโรงเรียน ยังมีการจัดกิจกรรม หรือจัดสื่อ/อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ไม่เพียงพอและไม่เป็นระบบ ต่อการให้บริการ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น