หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กลุ่มเครือข่าย ชมพูทอง

นายสมเกียรติ  ปงจันตา
รองผู้อำนวยการ สพป.ลำปาง เขต 1

นางเพ็ญออน  แสงสุข
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สพป.ลำปาง เขต 1


ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ
 กระบวนการนิเทศ
            1.การนิเทศรายโรงเรียน ด้านวิชาการโดยประชุมร่วมกับวิชาการโรงเรียนเพื่อดำเนินกิจกรรมการพัฒนายกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O – NET ปีการศึกษา 2554
           2.ประชุมด้านวิชาการเพื่อพัฒนาร่วมกับวิชาการเครือข่าย  ปรับกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล ตามหลักสูตรแกนกกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
กระบวนการจัดการเรียนการสอน
                   1.รู้จักเด็กเป็นรายบุคคล เน้นตามสภาพปัญหาจัดกิจกรรมสอดคล้องกับเหตุการณ์ เป็นประจำ
  2.ใช้สื่อทางไกล การสอนทางไกลกังวล ครูจัดกิจกรรมตามตาราง และจัดสื่อตามตารางกิจกรรม ประเมินผลนักเรียนตามตัวชี้วัด แก้ปัญหาครูสอนเสริมเพิ่มเติมหากนักเรียนไม่ทัน
  3.นำข้อสอบมาพัฒนาเพื่อให้นักเรียนคุ้นเคยวิธีการทำข้อสอบ(เฉพาะ ป.-3)
           4.เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามสภาพปัญหาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
           5.โครงการบูรณาการช่วงพักกลางวัน ช่วงบ่าย ไทย คณิต ภาษาอังกฤษ พัฒนานักเรียนโดยใช้ข้อสอบ เฉลยวิธีทำฝึกวิธีคิดเพิ่มเติม
           6.เน้นการพัฒนารายบุคคลในชั้นเรียน และพัฒนาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับเครือข่าย


ปัญหา/อุปสรรค ที่ส่งผลให้ผลการทดสอบลดลง

ด้านบุคลากร
           1.ครูไม่เพียงพอ ไม่ครบทุกชั้นสอนนักเรียน ใช้วิธีสอนแบบคละชั้น ครูผู้สอน  2 คน รับผิดชอบ               3 ชั้นเรียน และบางโรงเรียนสอน 1 คน 2  ชั้นเรียน
           2.ครูสอนไม่ตรงตามวุฒิ/ไม่มีความถนัดในวิชาที่สอนสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ไม่มีครูผู้สอนตรงตามวุฒิ (โรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ลดลง) ไม่สามารถสอนทักษะการปฏิบัติจริงได้ ครูสอนนักเรียนตามหนังสือ 

ด้านผู้เรียน
           3.นักเรียนมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ผู้ปกครองไม่ยอมรับนักเรียนเป็นเด็กพิเศษ มีปัญหาค่าเฉลี่ยผลการทดสอบ และการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
           4.ในโรงเรียนขนาดใหญ่ ปัญหาครูสอนเวียน สอนวิชาแต่ละชั่วโมง ไม่มีโอกาสสอนเสริม เนื่องจากตารางเวลาได้กำหนดให้นักเรียน เรียนรายชั่วโมงตามตารางสอนไม่สามารถสอนซ่อมเสริมได้


ข้อเสนอแนะจากวิชาการโรงเรียน
           1.การจัดทำสาระเพิ่มเติม ในสาระการเรียนรู้ที่มีผลค่าเฉลี่ยร้อยละการทดสอบลดลง
           2.สพป.ควรมีการพัฒนาและจัดทำ Pre O-NET ครบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 
 
ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ
กระบวนการนิเทศ
            1.การนิเทศรายโรงเรียน ด้านวิชาการโดยประชุมร่วมกับวิชาการโรงเรียนเพื่อดำเนินกิจกรรมการพัฒนายกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O – NET ปีการศึกษา 2554
           2.ประชุมด้านวิชาการเพื่อพัฒนาร่วมกับวิชาการเครือข่าย  ปรับกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล ตามหลักสูตรแกนกกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
กระบวนการบริหาร
กลุ่มฝั่งโรงเรียนปงแสนทอง  โรงเรียนวัดนาน้อย  โรงเรียนทุ่งกู่ด้าย  โรงเรียนบ้านกาด  โรงเรียนป่าตันกุมเมืองวิธีการ
1.  ประชุมผู้บริหาร  ครูวิชาการ  ครูผู้สอนชั้น ป.6  เพื่อหาแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน
2.  ที่ประชุมกำหนดให้นำนักเรียนทั้ง  4  โรงเรียน มาพัฒนาร่วมกันในทุกวันจันทร์ของสัปดาห์            โดยเริ่มพัฒนาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน  2554 – เดือนธันวาคม  2554  รวม  4  ครั้ง แบ่งนักเรียนทั้ง  4  โรงเรียนเป็น  5  กลุ่ม  วิชาที่พัฒนาคือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาและภาษาอังกฤษ  หมุนเวียนกันจนครบทั้ง  5  กลุ่มสาระ  ครูผู้สอนเป็นครูที่รับผิดชอบใน  5  กลุ่มสาระ
               3.ความร่วมมือระดับเครือข่าย นำนักเรียนชั้น ป.6  ทุกคนมาพัฒนาในรายวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา  เป็นสถานที่รวมกลุ่ม
แบ่งนักเรียนของกลุ่มเครือข่าย จำนวน  94  คน  เป็น  3  กลุ่ม / ครู  9  คน  กลุ่มละ  3  คน  หมุนเวียนนักเรียนเข้าเรียนรู้ใน  3  ฐานดังกล่าว  ข้อสอบมาตรฐานเป็นข้อสอบภาษาอังกฤษ             O – Net  ตั้งแต่ปี 2551 – 2553


กระบวนการจัดการเรียนการสอน
                   1.ครูเอาใจใส่นักเรียนเป็นรายบุคคล เน้นตามสภาพปัญหาจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ
  2.จัดกิจกรรมเสริมฝึกทักษะ สอนเสริมเวลาว่าง พักกลางวัน หลังเลิกเรียน
  3.นำข้อสอบมาพัฒนาเพื่อให้นักเรียนคุ้นเคยวิธีการทำข้อสอบ
           4.การใช้สื่อ หนังสือเรียนที่มีการวิเคราะห์การจัดกิจกรรมตามตัวชี้วัด
            5.ภาษาอังกฤษ เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ครูผู้สอนที่เป็นเจ้าของภาษา และใช้ห้องสอนภาษาโดยเฉพาะตามสภาพปัญหาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
           6.พัฒนาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับเครือข่าย

ปัญหา/อุปสรรค ที่ส่งผลให้ผลการทดสอบลดลง
           1.ครูไม่เพียงพอ ไม่ครบทุกชั้นสอนนักเรียน ใช้วิธีสอนแบบคละชั้น ครูผู้สอน  2 คน รับผิดชอบ  3 ชั้นเรียน และบางโรงเรียนสอน 1 คน 2  ชั้นเรียน
           2.ครูสอนไม่ตรงตามวุฒิ/ไม่มีความถนัดในวิชาที่สอนสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ไม่มีครูผู้สอนตรงตามวุฒิ (โรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ลดลง) ไม่สามารถสอนทักษะการปฏิบัติจริงได้ ครูสอนนักเรียนตามหนังสือ 
           3.นักเรียนมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ผู้ปกครองไม่ยอมรับนักเรียนเป็นเด็กพิเศษ มีปัญหาค่าเฉลี่ยผลการทดสอบ และการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
           4.ในโรงเรียนขนาดใหญ่ ปัญหาครูสอนเวียน สอนวิชาแต่ละชั่วโมง ไม่มีโอกาสสอนเสริม เนื่องจากตารางเวลาได้กำหนดให้นักเรียน เรียนรายชั่วโมงตามตารางสอนไม่สามารถสอนซ่อมเสริมได้
          

ข้อเสนอแนะ
           1.การสอนทางไกล (ไกลกังวล) ควรสนับสนุนโทรทัศน์จอภาพกว้างกว่าเดิม (ทีวีจอเล็กเกินไป)สำหรับนักเรียน
           2.จ้างครูสอนเพิ่มเติม โดยครู และชุมชนสนับสนุนค่าจ้างเพิ่มเติมจากงบประมาณของเขตพื้นที่ แต่ยังไม่ตรงตามวุฒิที่ต้องการไม่เพียงพอ
กระบวนการบริหาร
นำนักเรียนชั้น ม.3  ของ  6  โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา โรงเรียนวัดหลวงวิทยา  โรงเรียนพิชัยวิทยา  โรงเรียนแม่ก๋งวิทยา  โรงเรียนทุ่งฝางวิทยา  โรงเรียนธงชัยวิทยา มาพัฒนาร่วมกัน โดยให้โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยาเป็นสถานที่  ข้อสอบมาตรฐานที่ใช้เป็นข้อสอบ O – Net และข้อสอบภาษาอังกฤษที่ศูนย์อีริค

กระบวนการจัดการเรียนการสอน

เริ่มพัฒนาในชั่วโมงซ่อมเสริม คือ ชั่วโมงที่ 6  (14.30 – 15.30 น.  ระดับประถมศึกษา)  ส่วนมัธยมศึกษาจะใช้ชั่วโมง
หลังการสอนตามปกติ คือ ชั่วโมงที่ 7  (15.30 – 16.30)  ในทุก ๆ วันของสัปดาห์  เริ่มวันที่  14  พฤศจิกายน  2554
ถึงวันที่  24  กุมภาพันธ์  2555  รวม  50  ชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น