หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กลุ่มเครือข่าย เมืองยาว-แม่สัน

นายวรเพชร  ชัยวงค์
รองผู้อำนวยการ สพป.ลำปาง เขต 1

นายสมดี  ศรีแก้ว
ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1

ภาษาไทย       
  สาเหตุของผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น เพราะการเอาใจใส่ในการจัดการเรียนรู้อย่างจริงจัง ของครูในช่วงชั้นที่ 1 ครูผู้สอนประจำชั้นมีความถนัดในการสอนภาษาไทยและคณิตศาสตร์
          สาเหตุของผลสัมฤทธิ์ต่ำลง เพราะบางโรงเรียนขาดความถนัดในการสอน  การสอนไม่ต่อเนื่อง และไม่มีห้องวิทยาศาสตร์หรือมีแต่นานๆ ใช้ ครูไม่มีความถนัดในการสอนวิทยาศาสตร์
          แนวทางแก้ไข/พัฒนาในปีการศึกษา 2555  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบค้น ค้นคว้าและรายงาน

คณิตศาสตร์     
 สาเหตุของผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น เพราะโรงเรียนที่ผู้บริหารและครุผู้สอนมีความตระหนักและความพยายามพัฒนา โดยดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานอย่างจริงจัง
          สาเหตุของผลสัมฤทธิ์ต่ำลง เพราะขาดทักษะการคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์
          แนวทางแก้ไข/พัฒนาในปีการศึกษา 2555  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ เน้นการคิดวิเคราะห์ ปูพื้นฐานด้านการคำนวณ
วิทยาศาสตร์ 
 สาเหตุของผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น เพราะผู้บริหารและครูมีความตระหนักและพยายามอย่างจริงจัง มีการสอนซ่อมเสริม มีแผนงาน/โครงการรองรับ และมีการปฏิบัติ นิเทศ ติดตามผลอย่างจริงจัง
          สาเหตุของผลสัมฤทธิ์ต่ำลง  ครูสอนไม่ตรงตามสาระการเรียนรู้ สอนไม่เป็นไปตามลำดับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ทำให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ มีผลสัมฤทธิ์ไม่เป็นที่น่าพอใจ อาทิ วิทยาศาสตร์ เพราะนักเรียนขาดความเข้าใจ เรื่อง ความสัมพันธ์สิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ขาดทักษะการสืบเสาะ แสวงหาความรู้  และกลุ่มทักษะภาษาไทย นักเรียนบางส่วนไม่เข้าใจความหมายของคำบางคำ บางคนใช้ภาษาถิ่น บางคนขาดความกล้าในการแสดงออก
          แนวทางแก้ไข/พัฒนาในปีการศึกษา 2555 จัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เน้นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ จิตวิทยาศาสตร์สื่อสาร สำหรับภาษาไทย เน้นการสอนให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น ฝึกความกล้าในการแสดงออก (ให้ครูสอนตามความถนัดในกลุ่มสาระนั้นๆ) หรือสอนประจำวิชาและเวียนการสอนตามชั้นทุกชั้น ไม่ควรประจำห้องเดียว สอนทั้ง 8 สาระ แผนการสอนแบบคละชั้นช่วยได้เป็นอย่างดี ลดภาระการเขียนแผนการสอน เพียงแต่เตรียมสื่อการสอน การทำแบบฝึกทักษะต่าง ๆ หรือเครื่องมือวัดและประเมินผลเท่านั้น

ผลการทดสอบ O-NET ชั้นม.3

 ในปีการศึกษา 2554 มีผลสัมฤทธิ์ เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ สุข/พลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เพิ่มมากที่สุดคือ กลุ่มสาระศิลป์ สูงขึ้น 26.56 คิดเป็นร้อยละ 177 รองลงมาคือ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ สูงขึ้น 24.40 คิดเป็นร้อยละ 152 .50 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เพิ่มน้อยที่สุดคือกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ สูงขึ้น 10.63 คิดเป็นร้อยละ  75.93 แต่ในภาพรวมยังมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่และระดับประเทศ ยกเว้นกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และสุข/พลศึกษา
           ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น ทางผู้บริหารและครูผู้สอน มีความตระหนักและพยายามในการพัฒนาผู้เรียน มีแผนการ/โครงการดำเนินงานรองรับ ครูหาแนววิธีการสอนตามมาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์ผลปีการศึกษา 2553 ที่มีผลสัมฤทืค่อนข้างต่ำ ศึกษานิเทศก์ประจำกลุ่มเครือข่าย / ผู้บริหารสถานศึกษา ได้นิเทศติดตามผลอย่าต่อเนื่องและจริงจัง ทำการวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล เพื่อหาแนวทางแก้ไขและพัฒนา
อุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนา (กรณีที่มีคะแนนต่ำกว่าระดับเขตและระดับประเทศ)
กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ)  นักเรียนไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมเจ้าของภาษา นักเรียนขากทักษะในการแสดงความคิดเห็น ทักษะการพูดภาษาต่างประเทศ ไม่มีความคิดรวบยอด
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ นักเรียนขาดทักษะในการสรุปผลการทดลอง ขาดทักษะในการสืบค้นข้อมูล ไม่เข้าใจกิจกรรมบางเรื่องก็ไม่ถามครูผู้สอน ไม่นำหลักการไปใช้ในชีวิตประจำวัน
กลุ่มสาระการเรียนรู้กอท. ขาดความชำนาญในการทำโครงงาน ทางเทคโนโลยี มีความรู้น้อยในการเขียนดปรแกรมภาษาพื้นฐาน Computer ครูไม่มีความชำนาญการทาง Computer
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  นักเรียนบางคนอ่านเขียนหนังสือไม่คล่อง ทำให้อ่านวรรณคดี/วรรณกรรม ต่างๆ แล้วจับใจความไม่เป็น ตีความหรือสาระที่อ่านไม่ได้ ส่วนใหญ่มีพื้นฐานทางหลักภาษาจากระดับประถมศึกษาน้อย

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอเรียนเชิญทุกท่าน ร่วมแสดงความคิดเห็น โดยพิมพ์ข้อความลงในช่อง "ป้อมความคิดเห็น คลิก "แสดงความคิดเห็นในฐานะ" กรอกข้อมูลส่วนตัว แล้วคลิก "เผยแพร่" ขอบคุณครับ

    ตอบลบ