หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กลุ่มเครือข่าย เมืองเขลางค์


นายชัย  ปองเสงี่ยม
รองผู้อำนวยการ สพป.ลำปาง เขต 1
นายมานพ  วรรณารักษ์
ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1
นายอนันต์  สิงห์โตทอง
ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพป.ลำปาง เขต 1
ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1. ปัจจัย
    1.1 สร้างสายสัมพันธ์ร่วมกัน ประกอบด้วย ประธานเครือข่าย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และศึกษานิเทศก์

    1.2 จัดกิจกรรมเสริมหนุน ประกอบด้วย ครูและนักเรียน
    1.3 เติมพลังในการพัฒนา ให้กับผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ศึกษานิเทศก์
    1.4 พาพิสูจน์ผลงาน ครู ผู้อำนวยการโรงเรียน(ผลงาน Best Practices)
2. กระบวนการ
    2.1 การบริหารจัดการศึกษา เน้นการมีส่วนร่วม วางแผน กำหนดแนวทาง/ตัวชี้วัดความสำเร็จ
    2.2 การจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย จัดกิจกรรมเข้าค่ายภาษาไทย ค่ายภาษาอังกฤษ ค่าย ICT ค่ายวิทยาศาสตร์ สอนเสริมหลังเลิกเรียนและวันหยุด ติวเข้มสอบ O-NET
    2.3 กระบวนการนิเทศการศึกษา ดำเนินการนิเทศ ติดตาม โดยคณะกรรมการ(นิเทศแบบมีส่วนร่วม) จัด KM ภายในกลุ่มเครือข่ายเมืองเขลางค์ นำเสนอ Best Practices
3. ผลผลิต 
    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

จากผลการทดสอบ NT ป.3 โดยภาพรวมพบว่า กลุ่มสาระภาษาไทยผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปี 2554 เพิ่มขึ้นจากปี 2553  +1.89   กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ โดยภาพรวมพบว่าผลคะแนนปี 2554 มีผลคะแนนลดลงจากปี 2553 (-4.77)
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โดยภาพรวมพบว่าผลคะแนนปี
2554 มีผลคะแนนลดลงจากปี 2553 (-16.10)

1.  ปัจจัย/วิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย
                    1.1  ปัจจัย
           1)  พัฒนาสื่อICT ให้มีประสิทธิภาพและพร้อมในการจัดการเรียนการสอน
                           2)  พัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้และทักษะในการใช้ ICT
                           3)  มีแบบทดสอบที่มีประสิทธิภาพ
                    1.2  วิธีการ
                             1.2.1  ระดับโรงเรียน
                                          1)  สร้างความตระหนักให้แก่ครูทุกคนในโรงเรียนเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                                          2)  ครูนำผล(NT) มาวิเคราะห์และนำผลการวิเคราะห์ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
                                          3)  ครูผู้สอน สอนตรงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในหลักสูตรฯ
                          4)  สอนเสริมหลังเลิกเรียนและวันหยุด
                          5)  ติวเข้มข้อสอบ (NT)
                           1.2.2    ระดับกลุ่มเครือข่าย
                                          1)  พัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                                          2)  จัดกิจกรรมค่ายภาษาไทย ค่ายคณิตศาสตร์ และค่ายวิทยาศาสตร์

2. ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัด ที่ทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
                   2.1  ด้านการบริหารจัดการ
                             ผู้บริหารขาดการนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างต่อเนื่อง
                    2.2  ด้านครูผู้สอน
                             1) มีครูไม่ครบชั้น  ครูผู้สอน สอนควบชั้นจึงทำให้ผู้เรียนเรียนไม่เต็มตามศักยภาพ
                             2)  ครูไม่สอนตรงตามตัวชี้วัด(สอนตามหนังสือ)
                             3)  ครูมีภาระงานอื่นๆ ของโรงเรียนที่มอบหมาย มากกว่างานสอนประจำ
                             4)  ครูไม่ใช้กระบวนการสอนที่หลากหลายยังใช้วิธีการสอนแบบเก่า
                    2.3  ด้านสื่อการสอน
                             ขาดสื่อที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอ
                     2.4   ด้านผู้เรียน
                             1)  ผู้เรียนขาดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน
                             2)  ผู้เรียนมีปัญหาครอบครัว
                             3)  ด้านผู้ปกครอง/ชุมชน
                             4)  ผู้ปกครองขาดความเอาใจใส่
3.  จุดที่ควรพัฒนา
                  3.1  กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
                       จำนวนและการดำเนินการ ทักษะการวัด  เรขาคณิต   พีชคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                  3.2  กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
                           สารและสมบัติของสาร พลังงาน แรงและการเคลื่อนที่ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
4แนวทางการพัฒนา
                 กลุ่มเครือข่ายจัดทำโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  โดยจัดกิจกรรมดังนี้
                4.1  กิจกรรมพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                 4.2   กิจกรรมสร้างคลังข้อสอบมาตรฐาน(NT)
                 4.3  กิจกรรมค่ายภาษาไทย   ค่ายคณิตศาสตร์  และค่ายวิทยาศาสตร์

จากผลการทดสอบ O-NET ชั้น ป.6
                ผลการเปรียบเทียบระดับเครือข่าย  ปีการศึกษา 2553 - 2554  พบว่ากลุ่มสาระที่มีผลทดสอบสูงขึ้นกว่าเดิมได้แก่กลุ่มสาระภาษาไทย เพิ่มขึ้น 21.03 รองลงมาได้แก่กลุ่มสาระภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น 20.94  และกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้น 19.78 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มสาระที่มีผลทดสอบลดลงกว่าเดิม ได้แก่กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ลดลง 6.19 รองลงมาได้แก่กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีลดลง 2.57 ตามลำดับ
                ผลการเปรียบเทียบระดับเขตพื้นที่ กับระดับกลุ่มเครือข่าย ปีการศึกษา 2554 พบว่ากลุ่มสาระที่มีผลทดสอบสูงขึ้นกว่าเดิมได้แก่กลุ่มสาระสุขศึกษาและพละศึกษา สูงกว่าเดิม 0.05 ส่วนกลุ่มสาระที่มีผลทดสอบลดลงกว่าเดิม ได้แก่กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ ลดลง 7.17 รองลงมาได้แก่กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีลดลง 6.01 และกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ลดลง 4.46  ตามลำดับ

11.ปัจจัย/วิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย
   ปัจจัย
 - พัฒนาสื่อICT ให้มีประสิทธิภาพและพร้อมในการจัดการเรียนการสอน
                -  พัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้และทักษะในการใช้ ICT
                -  มีแบบทดสอบที่มีประสิทธิภาพ
  วิธีการ
ระดับโรงเรียน
                - สร้างความตระหนักให้แก่ครูทุกคนในโรงเรียนเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(O-NET)
                - ครูนำผล(O-NET) มาวิเคราะห์และนำผลการวิเคราะห์ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
                - ครูผู้สอน สอนตรงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในหลักสูตรฯ
- สอนเสริมหลังเลิกเรียนและวันหยุด
- ติวเข้มข้อสอบ (O-NET)
ระดับกลุ่มเครือข่าย
                - พัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                - จัดกิจกรรมค่ายภาษาไทย ค่ายภาษาอังกฤษ ค่ายICT และค่ายวิทยาศาสตร์
  2. ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัด ที่ทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
ด้านการบริหารจัดการ
-                   ผู้บริหารขาดการนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างต่อเนื่อง
ด้านครูผู้สอน
- มีครูไม่ครบชั้น  ครูผู้สอน สอนควบชั้นจึงทำให้ผู้เรียนเรียนไม่เต็มตามศักยภาพ
- ครูไม่สอนตรงตามตัวชี้วัด(สอนตามหนังสือ)
- ครูมีภาระงานอื่นๆ ของโรงเรียนที่มอบหมาย มากกว่างานสอนประจำ
- ครูไม่ใช้กระบวนการสอนที่หลากหลายยังใช้วิธีการสอนแบบเก่า
 ด้านสื่อการสอน
                         -ขาดสื่อที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอ
ด้านผู้เรียน
          - ผู้เรียนขาดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน
          - ผู้เรียนมีปัญหาครอบครัว
ด้านผู้ปกครอง/ชุมชน
          -  ผู้ปกครองขาดความเอาใจใส่
3.  จุดที่ควรพัฒนา
      กลุ่มสาระการงานพื้นฐานฯ
                         มาตรฐาน  ง.2.1 ,  ง.1.1 ,  ง.3.1 ,  ง.4.4
4แนวทางการพัฒนา
         กลุ่มเครือข่ายจัดทำโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยจัดกิจกรรมดังนี้
          4.1 กิจกรรมพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
         4.2  กิจกรรมสร้างคลังข้อสอบมาตรฐาน(O-net)
         4.3 กิจกรรมค่ายภาษาไทย
         4.4 กิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์
         4.5 กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอเรียนเชิญทุกท่าน ร่วมแสดงความคิดเห็น โดยพิมพ์ข้อความลงในช่อง "ป้อมความคิดเห็น คลิก "แสดงความคิดเห็นในฐานะ" กรอกข้อมูลส่วนตัว แล้วคลิก "เผยแพร่" ขอบคุณครับ

    ตอบลบ