หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กลุ่มเครือข่าย ชาวเขื่อน

นายพิษณุ  ปันปวง
รองผู้อำนวยการ สพป.ลำปาง เขต 1

นางสาวนิจ  จันทร์มล
ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1
 
เทคนิค/วิธีการ ยกระดับผลสัมฤทธิ์
              การดำเนินงานยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน NT ชั้น ป.3 และ ม.2, O-NET ชั้น ป.6 และ ม.3 ปีการศึกษา 2554  ของกลุ่มเครือข่ายชาวเขื่อน ได้ดำเนินการส่งเสริมให้แต่ละโรงเรียน จัดกิจกรรมการเข้าค่ายนักเรียน ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และได้ให้แต่ละโรงเรียนจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริม ให้กับนักเรียน ช่วงเวลาพักกลางวันและหลังเลิกเรียน(เวลา 16.00-17.00 น.) โดนเน้นการทำงานแบบเป็นทีมทั้งในรข่ายตลอดจนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนในการทำงาน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น    
              จากการวิเคราะห์ผลการสอบในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของกลุ่มเครือข่ายชาวเขื่อน พบว่ามีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเกือบ               ทุกโรงเรียนและกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มี 4 โรงเรียนมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น นอกนั้นมีค่าเฉลี่ยลดลง อาจสืบเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ ดังที่ได้มีการ
วางแผนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมากขึ้นในระดับเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มเครือข่าย และระดับโรงเรียน ดังนี้
             1.1  ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
                    1.1.1 นำผลการสอบในปีการศึกษา 2553 มาเป็นฐานในการพัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระโดยการจัดประชุมชี้แจงสัมมนาแนวทางในการแก้ปัญหา      และพัฒนานักเรียน
                   1.1.2 จัดทำโครงการพัฒนาครู ในแต่ละกลุ่มสาระกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อนำไปพัฒนานักเรียน
                   1.1.3 จัดทำสื่อภาษาไทยแจกให้โรงเรียนนำไปแก้ปัญหา
                   1.1.4  จัดสรรงบประมาณสนับสนุนกลุ่มเครือข่ายไปพัฒนาในกลุ่มโรงเรียน
                   1.1.5 ศึกษานิเทศก์ร่วมวางแผนแก้ปัญหาร่วมกับกลุ่มเครือข่ายและโรงเรียน
                   1.1.6 นิเทศติดตามการดำเนินงานของเครือข่ายและโรงเรียน
                   1.1.7 จัดตั้งศูนย์รวมสื่อเพื่อให้บริการ หนังสือ สื่อ การให้คำแนะนำปรึกษาในการแก้ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การสร้างสื่อเพื่อแก้ปัญหาและการสืบค้นงานวิจัย
                  1.1.8 จัดนิทรรศการสื่อ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ต่าง ๆ  
    
          
1.2  ระดับกลุ่มเครือข่าย
                  1.2.1 นำผลการสอบในปีการศึกษา 2553 มาเป็นฐานในการพัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระโดยการจัดประชุมชี้แจงสัมมนาแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนานักเรียน
                 1.2.2 จัดทำโครงการพัฒนาครู และนักเรียนในกลุ่มสาระกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่เป็นปัญหา และการพัฒนาการสร้างสื่อเพื่อแก้ปัญหา
                 1.2.3 จัดทำสื่อภาษาไทยแจกให้โรงเรียนนำไปแก้ปัญหา
                1.2.4  การประสานกับหน่วยงานในท้องถิ่นสนับสนุนงบพัฒนาด้านวิชาการ แล้วพัฒนากลุ่มเครือข่าย
                1.2.5 ศึกษานิเทศก์ร่วมวางแผนแก้ปัญหาร่วมกับกลุ่มเครือข่ายและผู้บริหารโรงเรียน
               1.2.6 นิเทศ ติดตาม การจัดการเรียนการสอนของครูในแต่ละโรงเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
               1.2.7 จัดสรรงบพัฒนาการติวเข้มนักเรียนในกลุ่มแยกเป็น 3 จุด คือ จุดโรงเรียนวัดเสด็จ  จุดโรงเรียนสบมายสามัคคี  จุดโรงเรียนบ้านหมากหัววัง
      1.3  ระดับโรงเรียน
             1.3.1  นำผลการสอบในปีการศึกษา 2553 มาเป็นฐานในการพัฒนาแต่ละกลุ่มสาระกลุ่มสาระการเรียนรู้         
             1.3.2 การปรับปรุงจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูปรับการสอนแบบคละชั้น
            1.3.3 การจัดกิจกรรมการเข้าค่ายการเตรียมความพร้อมในการสอบ 0 - NET  ของกลุ่มเครือข่าย  ทำให้นักเรียนเกิดองค์ความรู้ที่ชัดเจนและครอบคลุม  เนื้อหา
            
1.3.4 จัดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้สาระภาษาไทย
           1.3.5 จัดกิจกรรมเข้าค่ายยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระภาษาไทยทั้งในระดับเครือข่ายและในโรงเรียน
           1.3.6 ส่งครูเข้ารับการอบรมการใช้และการผลิตสื่อประกอบการสอนสาระภาษาไทย
       1.3.7 มีการเรียนการสอนเพิมเติม ในชั่วโมงว่าง และหาสื่อการเรียนการสอนที่จะช่วยในการกระตุ้นนักเรียนให้เกิดความสนใจมากยิ่งขึน ทำให้นักเรียนมีความสนใจในรายวิชาที่เพิ่มสูงขึ
      1.3.8 การให้ทำแบบฝึกหัด และฝึกปฏิบัติหลายครัง จนนักเรียนเกิดความรู้และความเข้าใจสามารถทำให้ผลการสอบในรายวิชา
      1.3.9 จัดการเรียนซ่อมเสริม
      1.3.10  จัดการวิจัยชั้นเรียน
     1.3.11 สร้างแบบฝึกประกอบการสอน การแก้ปัญหาและพัฒนานักเรียน
     1.3.12 จัดทำโครงการส่งเสริมการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์
     1.3.13 จัดทำโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์นักเรียนโดยส่งเสริมการอ่าน การเขียน
     1.3.14  ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหาให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
     
1.3.15  ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
    
1.3.16 ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร  การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง
  
   1.3.17  เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
     
1.3.18  เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
    
1.3.19  เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
     
1.3.20  จัดทำโครงการส่งเสริมอัจฉริยะภาพทางวิทยาศาสตร์
     1.3.21  จัดทำโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์นักเรียนโดยส่งเสริการอ่าน การเขียน

          1.3.22 นำสถานการณ์หรือเหตุการณ์ต่าง ๆมาฝึกให้นักเรียนได้ฝึกคาดการณ์หรือคาดคะเนเหตุการณ์ให้ได้คล่องขึ้น
          1.3.23  จัดครูเข้าสอนตามวิชาเอกให้ครบทุกกลุ่มสาระ
          
1.3.24 พานักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น ศูนย์สมุนไพร ศูนย์วิทยาศาสตร์
          
1.3.24 มีการเน้นสาระหลักเพิ่มมากขึ้น
         1.3.25 ในปีการศึกษา 2554 ผู้บริหารมีนโยบายให้ครูหาแนวทางในการเพิ่มผลสอบในสาระหลักเพิ่มขึ้น  โดยมีโครงการพัฒนานักเรียนในเวลาและนอกเวลาเรียน
         
1.3.26 นักเรียนมีความกระตือรือร้น ในการเรียนการสอนที่หลากหลาย ขนขวายที่จะเรียนพิเศษเพิ่มเติมนอกเวลา
         1.3.27 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ส่งผลให้ผลการทดสอบออกมาโดยเฉลี่ยดีขึ้น 
         
1.3.28 ผลการสอบ ในรายวิชา วิทยาศาสตร์ ลดลงอันเนื่องมาจากครูไม่มีประสบการณ์ในการสอน และขาดสื่อ ขาดครูที่มีความรู้ทางด้านนี้จะทำให้การเรียนการสอนยังไม่ดีพอ
         1.3. 29โรงเรียนได้มีโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และเน้นกิจกรรมการฝึกปฏิบัติของนักเรียนเป็นหลัก
        
1.3.30 มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย อีกทั้งยังมีการเข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมก่อนสอบ NT ของโรงเรียน



อุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนา       
      1.ปัญหา/อุปสรรค ด้านครู  
         1.1 การจัดกิจกรรมการสอนของครูเน้นเนื้อหาตามเอกสารมากเกินไปทำให้ผู้เรียนรู้แต่ขาดทักษะซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ส่งต่อผลสัมฤทธิ์
         
1.2 ครูขาดการใช้สื่อประกอบการสอน
         1.
3 ครูขาดความชำนาญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเรียนจบจากสาขาอื่น
         
1.4
โรงเรียนขาดแคลนครูผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านสาขาวิทยาศาสตร์
         1.5 ครูไม่ครบตามสาระการเรียนรู้และครูขาดความชำนาญในการจัดกิจกรรม
        
1.6 ครูขาดความชำนาญในการจัดกิจกรรม
         1.7 ขาดครูที่มีความรู้ทางด้านนี้จะทำให้การเรียนการสอนยังไม่ดีพอ
         1.8  ครูป่วย
2.ปัญหา/อุปสรรค ด้านนักเรียน
         2.1  นักเรียนขาดทักษะการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์
         
2.2 นักเรียนขาดการฝึกฝนเป็นประจำ
         
2.3 นักเรียนไม่สามารถคาดการณ์หรือคาดคะเน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ถูกต้อง
         2.4 นักเรียนไม่ได้ศึกษาจากของจริง
        
2.5 ผลการสอบ ในรายวิชา วิทยาศาสตร์ ลดลงอันเนื่องมาจากครูไม่มีประสบการณ์ในการสอน และขาดสื่อ
       
2.6 นักเรียนบางส่วนยังมีปัญหาด้านการอ่านออกเขียนได้
        
2.7 นักเรียนบางส่วนสภาพทางบ้านมีปัญหา
       
2.8 นักเรียนบางส่วนมีปัญหาด้านสุขภาพและการเรียนรู้
 
          3.ปัญหา/อุปสรรค ด้านสภาพแวดล้อม
             
3.1  บรรยากาศในและนอกห้องเรียน ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ 
             
3.2 แหล่งเรียนรู้มีน้อย
              3.3 สภาพแวดล้อมทางบ้านไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ 
              3.3
นักเรียนบางส่วนอยู่ในครอบครัวที่แตกแยก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น