หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กลุ่มเครือข่าย แม่ตุ๋ย

นายชัย  ปองเสงี่ยม
รองผู้อำนวยการ สพป.ลำปาง เขต 1
นายนิคม  ปิยมโนชา
ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1
นางขนิษฐา วิเศษคุปต์
ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1

การนิเทศเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มเครือข่ายแม่ตุ๋ย
                การนิเทศแบบมีส่วนร่วมโดยการร่วมกันในการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการของครูผู้สอนและนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนร่วมกันในการที่จะพัฒนานักเรียนเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงขึ้นในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
การปฏิบัติการนิเทศ ใช้วิธีการเยี่ยมชั้นเรียน การพบปะสนทนากับผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการเครือข่าย และวิชาการโรงเรียน การให้คำปรึกษาแนะนำอย่างเป็นกัลยาณมิตรครูผู้สอนให้ความไว้วางใจที่จะร่วมคิดร่วมทำและร่วมพัฒนาเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับที่สูงขึ้น บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนด

จากผลการทดสอบNTชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายแม่ตุ๋ย ปีการศึกษา 2554 เปรียบเทียบกับ ปีการศึกษา 2553 โดยภาพรวมระดับกลุ่มเครือข่าย พบว่า มีค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ + 9.34 ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ + 4.38 และค่าเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ลดลงร้อยละ - 8.32  เมื่อพิจารณาในระดับโรงเรียน พบว่า โรงเรียนที่มีผลการทดสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพิ่มขึ้น จำนวน 12 โรง ลดลง จำนวน 2 โรง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้น จำนวน 9 โรง ลดลง จำนวน 5 โรง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้น จำนวน 2 โรง ลดลง จำนวน 12 โรง เมื่อพิจารณาเป็นรายโรงเรียน พบว่า โรงเรียนวัดค่ากลาง มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  รองลงมาคือโรงเรียนวัดบ้านเป้า โรงเรียนทุ่งฝางวิทยา  ส่วนโรงเรียนวัดบ้านเป้า มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รองลงมาคือ โรงเรียนวัดบ้านฮ่อง โรงเรียนวัดน้ำโท้ง มีผลการทดสอบลดลงมากที่สุด รองลงมาคือ โรงเรียนบ้านแม่เฟือง และโรงเรียนวัดทุ่งโจ้ มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รองลงมาคือโรงเรียนวัดค่ากลาง  โรงเรียนทุ่งฝางวิทยา มีผลการทดสอบลดลงมากที่สุด รองลงมาคือ โรงเรียนวัดบ้านแม่ต๋ำ
           สำหรับโรงเรียนบ้านห้วยเป้ง โรงเรียนบ้านบ่อหิน โรงเรียนบ้านหนองกระทิง และโรงเรียนบ้านป่าเหียง ไม่มีผลการเปรียบเทียบเนื่องจาก ปีการศึกษา 2554 ไม่มีนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น

       จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการทดสอบระดับชาติ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายแม่ตุ๋ย ปีการศึกษา 2554 เปรียบเทียบกับ ปีการศึกษา 2553 พบว่า ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพิ่มขึ้น 12 โรงเรียน และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้น 9 โรงเรียน มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้
         1. กลุ่มเครือข่ายแม่ตุ๋ย  จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 กำหนดโครงการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิผลตามกลยุทธ์/จุดเน้น โดยจัดกิจกรรมฝึกทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกปีที่ 3 ด้วยชุดฝึกการอ่านออก เขียนได้ และชุดฝึกเสริมการเรียนรู้สู่ NT โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1

         2. โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายแม่ตุ๋ย มีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (NT) ปีการศึกษา 2553 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพื่อวางแผนการจัดการเรียนการสอน การแก้ปัญหาการอ่านออก เขียนได้ และพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์

 3. โรงเรียนได้กำหนดเป้าหมายยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร่วมกัน โดยวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอน วางแผนการนิเทศ ติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และมีกระบวนการนิเทศและการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร

 3. ครูผู้สอนมีความตระหนักในการจัดการเรียนการสอน พัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น ในด้านการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น แก้ปัญหานักเรียนเป็นรายบุคคล  

         4. จัดกิจกรรมเสริมความรู้ เช่น ฝึกการอ่าน การเขียนคำยาก ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน บันทึกการอ่าน โครงการอ่านให้พ่อแม่ฟัง ใช้สื่อการสอนไกลกังวล ส่งเสริมความสามารถทางวิชาการ จัดกิจกรรมการแข่งขันวิชาการระดับชั้นเรียน ระดับกลุ่มโรงเรียน ระดับเครือข่าย และระดับเขตพื้นที่การศึกษา

         6. การเตรียมตัวผู้เรียนก่อนสอบ เช่น จัดค่ายวิชาการ การสอนซ่อมเสริมและฝึกทำข้อทดสอบอย่างหลากหลาย จัดกิจกรรมพัฒนาความสามารถทางภาษาไทย คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

อุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนา

          1. ครูไม่ใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ หรือวิธีการที่เหมาะสมกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน และการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การสอนวิทยาศาสตร์ ไม่มีการทดลอง ไม่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          2. ไม่มีหรือไม่ใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์การทดลอง ไม่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีช่วยในการสอน ทำให้นักเรียนขาดทักษะกระบวนการและทักษะการคิด จึงเป็นการเรียนการสอนเนื้อหาที่เน้นความรู้ ความเข้าใจ มากกว่าทักษะการคิดและการแก้ปัญหา ส่งผลให้นักเรียนขาดทักษะการคิด ทักษะการปฏิบัติ และทักษะการแก้ปัญหา

          3. โรงเรียนบางแห่งหรือบางชั้นเรียน ยังขาดสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในโรงเรียน เช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ไม่เพียงพอและไม่เป็นระบบ ต่อการให้บริการ

          4. โรงเรียนบางแห่งขาดครูวิชาเอกที่จำเป็นเฉพาะทาง เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แต่มีครูที่จบวิชาเอกเดียวกันหลายคน เช่น โรงเรียนวัดบ้านสัก (รวมโรงเรียนวัดบ้านแม่ต๋ำ) มีครูจบวิชาเอกสังคมศึกษา จำนวน 4 คน วิชาเอกประถมศึกษา จำนวน 4 คน

          5. ผู้เรียนบางคนหรือหลายคนในห้องเรียนขาดความพร้อม หรือมีความบกพร่องด้านการเรียนรู้ หรือเรียนรู้ได้ไม่ทันเพื่อนในชั้นเรียน ไม่มีการพัฒนาหรือไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามวัยและระดับชั้นเรียน มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน
        6. ปัญหาครอบครัวของนักเรียนบางคน เช่น ผู้ปกครองหย่าร้าง หรือผู้ปกครองไปทำงานต่างจังหวัด มอบภาระเลี้ยงดูให้ปู่ ยา หรือตา ยาย ทำให้เด็กขาดความอบอุ่น และขาดการอบรมสั่งสอนหรือการส่งเสริม สนับสนุนในทางที่ถูกต้อง จึงส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน

จากผลการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายแม่ตุ๋ย ปีการศึกษา 2554 เปรียบเทียบกับ ปีการศึกษา 2553 โดยภาพรวมระดับกลุ่มเครือข่าย จำนวน 18 โรง มีผลการเปรียบเทียบ 13 โรง พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ + 26.46 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ + 31.85 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีเพิ่มขึ้นร้อยละ + 5.07  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)มีค่าเฉลี่ย เพิ่มขึ้นร้อยละ + 27.31 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ย เพิ่มขึ้นร้อยละ + 9.14 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ + 8.69 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ + 9.26 และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา มีค่าเฉลี่ย เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.59 เมื่อพิจารณาในระดับโรงเรียน พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นทุกโรงเรียน ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้น จำนวน 7 โรง ลดลง จำนวน 6 โรง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้น จำนวน 9 โรง ลดลง จำนวน 4 โรง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้น จำนวน 7 โรง ลดลง จำนวน 6 โรง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้น จำนวน 8 โรง ลดลง จำนวน 5 โรง และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้น จำนวน 10 โรง ลดลง จำนวน 3 โรง เมื่อพิจารณาเป็นรายโรงเรียน พบว่า โรงเรียนวัดบ้านฮ่อง มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร้อยละ + 25.36 รองลงมาคือโรงเรียนทุ่งฝางวิทยา ร้อยละ + 28.64 โรงเรียนแม่ก๋งวิทยา มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดร้อยละ + 8.87 รองลงมาคือ โรงเรียนวัดทุ่งกล้วย ร้อยละ + 12.42 โรงเรียนทุ่งฝางวิทยา มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นมากที่สุดในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ร้อยละ + 61.06 รองลงมาคือ โรงเรียนวัดค่ากลาง ร้อยละ + 50.62 โรงเรียนวัดบ้านเป้ามีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ร้อยละ + 5.25 รองลงมาคือ โรงเรียนวัดน้ำโท้ง ร้อยละ + 11.52 โรงเรียนวัดบ้านเป้า มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ร้อยละ + 16.77 รองลงมาคือโรงเรียนวัดค่ากลาง ร้อยละ + 12.58  โรงเรียนวัดทุ่งกล้วย มีผลการทดสอบลดลงมากที่สุด ร้อยละ - 8.49 รองลงมาคือ โรงเรียนวัดบ้านแม่ต๋ำ ร้อยละ - 6.87 โรงเรียนวัดค่ากลาง มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ร้อยละ + 46.44 รองลงมาคือ โรงเรียนวัดทุ่งโจ้ ร้อยละ + 43.26 โรงเรียนวัดน้ำโท้ง มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ร้อยละ 8.94 รองลงมาคือ โรงเรียนวัดบ้านเป้า ร้อยละ + 9.89 โรงเรียนวัดทุ่งโจ้ มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ร้อยละ + 14.36 รองลงมาคือ โรงเรียนบ้านบ่อหิน ร้อยละ + 13.20 โรงเรียนวัดบ้านแม่ต๋ำ มีผลการทดสอบลดลงมากที่สุด ร้อยละ – 8.50 รองลงมาคือ โรงเรียนวัดทุ่งกล้วย ร้อยละ - 2.12 โรงเรียนวัดบ้านสัก มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ ร้อยละ + 16.36 รองลงมาคือ โรงเรียนวัดค่ากลาง ร้อยละ + 12.75 โรงเรียนแม่ก๋งวิทยา มีผลการทดสอบลดลงมากที่สุด ร้อยละ – 13.05 รองลงมาคือ โรงเรียนวัดบ้านแม่ต๋ำ ร้อยละ – 7.67 โรงเรียนวัดบ้านแม่ต๋ำ มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ร้อยละ + 24.85 รองลงมาคือ โรงเรียนวัดน้ำโท้ง ร้อยละ + 19.70 โรงเรียนแม่ก๋งวิทยา มีผลการทดสอบลดลงมากที่สุด ร้อยละ – 13.09 รองลงมาคือ โรงเรียนวัดบ้านสัก ร้อยละ – 7.65 และโรงเรียนวัดค่ากลาง มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา ร้อยละ + 18.75 รองลงมาคือ โรงเรียนวัดทุ่งโจ้ ร้อยละ + 15.82 โรงเรียนวัดทุ่งกล้วย มีผลการทดสอบลดลงมากที่สุด ร้อยละ – 19.60 รองลงมาคือ โรงเรียนวัดบ้านแม่ต๋ำ ร้อยละ – 3.75    

           สำหรับโรงเรียนบ้านท่าล้อ โรงเรียนบ้านป่าเหียง โรงเรียนบ้านหนองกระทิง และโรงเรียนบ้านห้วยเป้ง ไม่มีผลการเปรียบเทียบ เนื่องจาก ปีการศึกษา 2554 ไม่มีนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และในปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านเอื้อม ไม่มีนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น

       จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการทดสอบระดับชาติ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายแม่ตุ๋ย ปีการศึกษา 2554 เปรียบเทียบกับ ปีการศึกษา 2553 พบว่า โรงเรียนมีผลการทดสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) เพิ่มขึ้นทุกโรง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้น จำนวน 7 โรง ลดลง จำนวน 6 โรง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้น จำนวน 9 โรง ลดลง จำนวน 4 โรง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้น จำนวน 7 โรง ลดลง จำนวน 6 โรง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้น จำนวน 8 โรง ลดลง จำนวน 5 โรง และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้น จำนวน 10 โรง ลดลง จำนวน 3 โรง เนื่องจากมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้
         1. โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายแม่ตุ๋ย  ร่วมมือจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 กำหนดโครงการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิผลตามกลยุทธ์/จุดเน้น โดยจัดกิจกรรมฝึกทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกปีที่ 6
โดยชุดฝึกการอ่านคล่องเขียนคล่องและชุดฝึกเสริมการเรียนรู้สู่ O-NET โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
         2. โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายแม่ตุ๋ย มีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2553 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อวางแผนการจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานและตัวชี้วัด เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  

 3. การนิเทศ โดยจัดสัมมนาให้ความรู้ และแนวทางการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ในช่วงชั้นที่ 2 โดยชุดฝึกการอ่านภาษาอังกฤษพื้นฐาน จำนวน 2 ครั้ง และนิเทศติดตามต่อเนื่อง สำหรับในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ได้กำหนดให้ครูผู้สอนนำผลจากการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาใช้ในการแก้ปัญหาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัดที่เป็นปัญหา

 4. โรงเรียนได้กำหนดเป้าหมายยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร่วมกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จึงทำให้มีการวางแผนพัฒนาการจัดการเรียนการสอน จัดหาและใช้สื่อเพิ่มมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียนและระหว่างโรงเรียนมากขึ้น และมีกระบวนการนิเทศโดยศึกษานิเทศก์ และการนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร

 5. โรงเรียนมีการรวมกลุ่มจัดค่ายวิชาการในระดับตำบล เช่น กลุ่มตำบลบ้านค่า จัดค่ายที่โรงเรียนบ้านห้วยเป้ง และกลุ่มตำบลบ้านเอื้อม จัดค่ายที่โรงเรียนวัดบ้านสัก กิจกรรมติวเข้ม และฝึกทำข้อทดสอบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเตรียมพร้อมสอบ O-NET

         6. โรงเรียนในกลุ่มตำบลบ้านค่า ร่วมกันจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาทักษะภาษาไทย โดยชุดฝึกการอ่าน การเขียน ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)   

         7. โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายแม่ตุ๋ย จำนวน     โรง จะต้องรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม ซึ่งมีผลทำให้โรงเรียนเหล่านั้นต้องยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่ 5  

อุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนา

          1. ครูไม่ใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ หรือวิธีการที่เหมาะสมกับธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การสอนวิทยาศาสตร์ ไม่มีการทดลอง นักเรียนไม่ได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          2. ไม่มีหรือไม่ใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์การทดลอง ไม่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีช่วยในการสอน ทำให้นักเรียนขาดทักษะกระบวนการและทักษะการคิด จึงเป็นการเรียนการสอนเนื้อหาที่เน้นความรู้ ความเข้าใจ มากกว่าทักษะการคิดและการแก้ปัญหา ส่งผลให้นักเรียนขาดทักษะการคิด ทักษะการปฏิบัติ ทักษะการแก้ปัญหาและวิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้เท่าที่ควร

          3. โรงเรียนบางแห่งหรือบางชั้นเรียน ยังขาดสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในโรงเรียน เช่น ห้องสมุด มีหนังสือไม่เพียงพอไม่ทันสมัย ไม่น่าสนใจ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ไม่มีวัสดุฝึก อุปกรณ์ชำรุด มีไม่เพียงพอ  

          4. โรงเรียนหลายแห่งขาดครูวิชาเอกที่จำเป็นเฉพาะทาง เช่น วิชาเอกภาษาไทย วิชาเอกภาษาอังกฤษ วิชาเอกคณิตศาสตร์และวิชาเอกวิทยาศาสตร์ แต่มีครูที่จบวิชาเอกเดียวกันหลายคน เช่น วิชาเอกสังคมศึกษา และวิชาเอกประถมศึกษา 

          5. ผู้เรียนบางคนหรือหลายคนในห้องเรียนขาดความพร้อม หรือบกพร่องด้านการเรียนรู้ หรือเรียนรู้ได้ไม่ทันเพื่อนในชั้นเรียน ไม่มีการพัฒนาหรือไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามวัยและระดับชั้นเรียน เช่น ที่โรงเรียนวัดบ้านฮ่อง มีนักเรียน LD จำนวน 9 คน ในจำนวนนี้แพทย์มีใบรับรองแล้ว 5 คน จากจำนวนนักเรียนในชั้น 16 คน

        6. ปัญหาครอบครัวของนักเรียนบางคน เช่น ผู้ปกครองหย่าร้าง หรือผู้ปกครองไปทำงานต่างจังหวัด มอบภาระเลี้ยงดูให้ปู่ ยา หรือตา ยาย ทำให้เด็กขาดความอบอุ่น และขาดการอบรมสั่งสอนหรือการส่งเสริม สนับสนุนในทางที่ถูกต้อง จึงส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
       
จากผลการทดสอบO-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายแม่ตุ๋ย ปีการศึกษา 2554 เปรียบเทียบกับ ปีการศึกษา 2553 โดยภาพรวมระดับกลุ่มเครือข่าย จำนวน 2 โรง พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 42.50 เพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 18.25 รองลงมาคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 24.99 เพิ่มขึ้นร้อยละ + 14.33 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 35.55 เพิ่มขึ้นร้อยละ + 12.49 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 49.12 เพิ่มขึ้นร้อยละ + 11.92 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 42.98 เพิ่มขึ้นร้อยละ + 6.75 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 45.14 เพิ่มขึ้นร้อยละ + 4.81 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีค่าร้อยละ 29.97 เพิ่มขึ้นร้อยละ + 1.80 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 54.92 ลดลงร้อยละ - 15.09  เมื่อพิจารณาในระดับโรงเรียน พบว่า โรงเรียนทุ่งฝางวิทยา มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ แต่มีผลการทดสอบลดลงในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ส่วนโรงเรียนแม่ก๋งวิทยา มีผลการทดสอบเพิ่มขึ้นในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แต่มีผลการทดสอบลดลงในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพ และกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น

       จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการทดสอบระดับชาติ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายแม่ตุ๋ย ปีการศึกษา 2554 เปรียบเทียบกับ ปีการศึกษา 2553 พบว่า มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้
         1. กลุ่มเครือข่ายแม่ตุ๋ย  ร่วมมือจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 กำหนดโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  
         2. โรงเรียนทุ่งฝางวิทยาและโรงเรียนแม่ก๋งวิทยา มีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2553 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อวางแผนการจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานและตัวชี้วัด เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 
 3. โรงเรียนแม่ก๋งวิทยา จัดกิจกรรมตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระหลัก เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
            4. โรงเรียนทุ่งฝางวิทยาและโรงเรียนแม่ก๋งวิทยาได้กำหนดเป้าหมายยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จึงได้วางแผนพัฒนาการจัดการเรียนการสอน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียนและระหว่างโรงเรียนมากขึ้น 
 5. ครูผู้สอนจัดกิจกรรมสอนเสริม ติวเข้มเนื้อหา และฝึกทำข้อทดสอบ ที่ครูจัดหา และข้อทดสอบ Pre O-net จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 เพื่อเตรียมพร้อมสอบ O-NET
         6. โรงเรียนทุ่งฝางวิทยาและโรงเรียนแม่ก๋งวิทยา จะต้องรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม ซึ่งมีผลทำให้โรงเรียนต้องเร่งรัดยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่ 5

อุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนา
          1. ครูไม่ใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ หรือวิธีการที่เหมาะสมกับธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การสอนวิทยาศาสตร์ มีการทดลองน้อย นักเรียนไม่ได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ การสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ครูเน้นการปฏิบัติแต่ขาดทักษะกระบวนการคิด  
          2. ไม่มีหรือไม่ใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์การทดลอง ไม่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีช่วยในการสอน ทำให้นักเรียนขาดทักษะกระบวนการและทักษะการคิด จึงเป็นการเรียนการสอนเนื้อหาที่เน้นความรู้ ความเข้าใจ มากกว่าทักษะการคิดและการแก้ปัญหา ส่งผลให้นักเรียนขาดทักษะการคิด ทักษะการปฏิบัติ ทักษะการแก้ปัญหาและวิเคราะห์โจทย์ปัญหาได้เท่าที่ควร
          3. โรงเรียนยังขาดสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในโรงเรียน เช่น ห้องสมุด มีหนังสือไม่เพียงพอไม่ทันสมัย ไม่น่าสนใจ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ไม่มีวัสดุฝึก อุปกรณ์ชำรุด มีไม่เพียงพอ 
          4. โรงเรียนทุ่งฝางวิทยามีครูวิชาเอกที่จำเป็นเฉพาะทางไม่เพียงพอ ได้แก่ วิชาเอกภาษาไทย วิชาเอกคณิตศาสตร์ และวิชาเอกวิทยาศาสตร์ ส่วนโรงเรียนแม่ก๋งวิทยาขาดครูวิชาเอก คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
          5. ปัญหาครอบครัวของนักเรียนบางคน เช่น ผู้ปกครองหย่าร้าง หรือผู้ปกครองไปทำงานต่างจังหวัด มอบภาระเลี้ยงดูให้ปู่ ยา หรือตา ยาย ทำให้เด็กขาดความอบอุ่น และขาดการอบรมสั่งสอนหรือการส่งเสริม สนับสนุนในทางที่ถูกต้อง จึงส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน

1 ความคิดเห็น: