หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กลุ่มเครือข่าย ขุนตาน

นายสมเกียรติ  ปงจันตา
รองผู้อำนวยการ สพป.ลำปาง เขต 1

นายสุชาติ  ปวงแก้ว
ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1
เทคนิคการนิเทศที่ใช้ในกลุ่มเครือข่ายขุนตาน ได้แก่
              การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการ/โรงเรียนซึ่งกระจัดกระจายอยู่ใน ตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเอง ให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
จากผลการทดสอบ NT  ชั้น ป.3
                ผลการเปรียบเทียบระดับเครือข่ายของกลุ่มเครือข่ายขุนตาน ปีการศึกษา 2553 2554 พบว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลการทดสอบเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร้อยละ 14.90 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ร้อยละ 12.08 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ร้อยละ  6.16 ตามลำดับ
ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลการทดสอบระดับชาติลดลง ได้แก่  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ร้อยละ 8.73 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ร้อยละ 6.25 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ร้อยละ  3.30 ตามลำดับ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น
-                   พัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้และทักษะการใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
-                   พัฒนาแบบทดสอบให้มีประสิทธิภาพ
-                   จัดหาและให้ยืมสื่อการเรียนการสอน ICT บริการแก่ครูผู้สอน
 อุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนา
-                   ด้านการบริหารจัดการ
                 ผู้บริหารโรงเรียนขาดการนิเทศ ติดตามการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
                 โรงเรียนในสังกัดเครือข่ายขุนตาน ส่วนใหญ่(จำนวน 5 โรงเรียนจาก 6 โรงเรียน) เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนต่ำกว่า 80 คน ทำให้ขาดแคลนทรัพยากร งบประมาณในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
-                   ด้านครูผู้สอน
-                   ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ไม่ตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-                   โรงเรียนในสังกัดเครือข่ายขุนตาน ส่วนใหญ่(จำนวน 5 โรงเรียนจาก 6 โรงเรียน) มีครูไม่ครบชั้นเรียนและมีครูไม่ครบวิชาเอก ทำให้ นักเรียนไม่ได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
-                   ด้านผู้เรียน
-                   นักเรียนขาดการใฝ่รูใฝ่เรียน
-                   นักเรียนมีฐานะยากจนและมีปัญหาในครอบครัว

จากผลการทดสอบ O-NET ชั้น ป.6
 -                   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2554 เพิ่มขึ้นสูงที่สุดจากปีการศึกษา 2553 ร้อยละ 14.90 เมื่อพิจารณาเป็นรายโรงเรียน พบว่า โรงเรียนบ้านยางอ้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.61โรงเรียนบ้านจำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.83 โรงเรียนปงยางคก เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.67โรงเรียนบ้านสัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.16 โรงเรียนบ้านแม่ตาลน้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.04 และโรงเรียนบ้านสันทราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.90 ตามลำดับ
-                   กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2554 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2553  ร้อยละ 8.65 เมื่อพิจารณาเป็นรายโรงเรียน พบว่า โรงเรียนบ้านทุ่งเกวียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.83โรงเรียนบ้านยางอ้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.79 โรงเรียนปงยางคก เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.32โรงเรียนบ้านสัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.08 โรงเรียนบ้านหม้อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.80 และโรงเรียนบ้านสันทราย ลดลงร้อยละ 1.67 ตามลำดับ
-                   กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2554 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2553  ร้อยละ 8.53 เมื่อพิจารณาเป็นรายโรงเรียน พบว่า โรงเรียนบ้านหม้อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.92โรงเรียนปงยางคก เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.50 โรงเรียนบ้านทุ่งเกวียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.67 โรงเรียนบ้านยางอ้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.11 โรงเรียนบ้านปงใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.00 และโรงเรียนบ้านแม่ตาลน้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.58 ตามลำดับ
 -                   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2554 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2553  ร้อยละ 6.16 เมื่อพิจารณาเป็นรายโรงเรียน พบว่า โรงเรียนบ้านยางอ้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.80 โรงเรียนบ้านจำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.00 โรงเรียนบ้านทุ่งเกวียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.10 โรงเรียนบ้านสัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.83 โรงเรียนปงยางคก เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.83 โรงเรียนบ้านปงใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.00 และโรงเรียนบ้านแม่ตาลน้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.58 ตามลำดับ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น
- พัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูให้ตรงกับมาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- พัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะและเจตคติในการใช้สื่อ ICT มาใช้ในการจัดการเรียนรู้
- มีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีประสิทธิภาพ
อุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนา
-                   ด้านการบริหารจัดการ
                 ผู้บริหารโรงเรียนขาดการนิเทศ ติดตามการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
                 โรงเรียนในสังกัดเครือข่ายขุนตาน ส่วนใหญ่(จำนวน 5 โรงเรียนจาก 6 โรงเรียน) เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียนต่ำกว่า 80 คน ทำให้ขาดแคลนทรัพยากร งบประมาณในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
-                   ด้านครูผู้สอน
-                   ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ไม่ตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-                   โรงเรียนในสังกัดเครือข่ายขุนตาน ส่วนใหญ่(จำนวน 5 โรงเรียนจาก 6 โรงเรียน) มีครูไม่ครบชั้นเรียนและมีครูไม่ครบวิชาเอก ทำให้ นักเรียนไม่ได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
-                   ด้านผู้เรียน
-                   นักเรียนขาดการใฝ่รูใฝ่เรียน
-                   นักเรียนมีฐานะยากจนและมีปัญหาในครอบครัว
3. จุดที่ควรพัฒนา
- มาตรฐาน ว.
 
จากผลการทดสอบ O-NET ชั้น ม.3
โรงเรียนปงยางคก(ทิพย์ช้างอนุสรณ์) กลุ่มเครือข่ายขุนตาน โดยภาพรวมพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีการศึกษา 2554 เพิ่มสูงขึ้นจากปีการศึกษา 2553 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ยกเว้นกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลงร้อยละ 12.78 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เพิ่มสูงขึ้น เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย มีดังนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ร้อยละ 20.03  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ร้อยละ 14.48 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ร้อยละ 12.77 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ร้อยละ 20.03 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ร้อยละ 9.16 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ร้อยละ 8.25 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร้อยละ 6.90 และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ร้อยละ 6.1
7
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น
1.             ครูผู้สอนจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริม ติวเข้มเนื้อหาและฝึกทำข้อทดสอบที่ครูจัดหามา และนำข้อทดสอบ Pre – O – Net ของสำนักงานเขตพั้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 มาให้นักเรียนได้ทดลองทำ
2.             โรงเรียนได้สร้างความตระหนักให้ครูผู้สอนโดยกำหนดเป้าหมายยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากปีการศึกษา 2553 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3.             โรงเรียนมีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางเรียนระดับชาติ(O –Net) ปีการศึกษา 2553 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อวางแผนการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมสนับสนุน พัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานและตัวชี้วัด เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

อุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนา
1.         โรงเรียนยังขาดสื่อและอุกรณ์การเรียนการสอนที่มีประสิทธิ์ภาพ ขาดแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในโรงเรียน เช่น ห้องสมุด มีหนังสือไม่เพียงพอ ไม่ทันสมัย ไม่น่าสนใจ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ไม่มีวัสดุฝึก อุปกรณ์ชำรุดและมีไม่เพียงพอ เป็นต้น
2.          โรงเรียนยังมีครูผู้สอนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการสอนไม่ตรงกับความถนัด ยังขาดครูในวิชาเอกภาษาอังกฤษ พลศึกษาและสุขศึกษา และศิลปะ
3.           นักเรียนบางส่วน มีปัญหาในครอบครัว ได้แก่ ผู้ปกครองหย่าร้าง ผู้ปกครองไปทำงานต่างจังหวัด มอบภาระเลี้ยงดูให้ปู่ ย่าหรือ ตา ยาย ทำให้เด็กขาดความอบอุ่นและขาดการอบรมสั่งสอนหรือการส่งเสริม สนับสนุนในทางที่ถูกต้อง รวมถึงนักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน

1 ความคิดเห็น:

  1. เทคนิคการนิเทศที่ใช้ในกลุ่มเครือข่ายขุนตาน ได้แก่
    การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการ/โรงเรียนซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด

    ตอบลบ