หน้าเว็บ

บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กลุ่มเครือข่าย อนันตยศ

นายวรเพชร  ชัยวงค์
รองผู้อำนวยการ สพป.ลำปาง เขต 1
นายสงวน  จันทร์สุวรรณ
ศึกษานิเทศก์ สพป.ลำปาง เขต 1

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2554 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเครือข่ายอนันตยศเพิ่มจากปีการศึกษา 2553 คือกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.40  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.88  แต่กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ลดลงร้อยละ 3.17 (เป้าหมาย การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4)

 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น
        วิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาของนักเรียนเป็นรายบุคคลจากผลการทดสอบระดับชาติ  โครงการเยี่ยมบ้าน นำมาวางแผนพัฒนาปรับปรุงแก้ไขนักเรียนทุกคน ได้แก่การสอนเสริมหลังเรียน  นอกจากนี้ครูได้มีการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน ดำเนินการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้แก่การอ่านได้  เขียนได้  ทักษะการคิด  ทักษะการคิดคำนวณและ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนให้ความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพ เช่น ชมรมศิษย์เก่าจัดโครงการ บ้านหลังเรียนเพื่อสอนเสริม สนับสนุนและได้รับการสนับสนุนข้อสอบจากกลุ่มเครือข่าย

อุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนา
       ครูผู้สอนสอนทุกกลุ่มสาระแต่ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของหลักสูตร ไม่ตระหนักถืงความสำคัญมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ไม่เพียงพอ จัดกระบวนการเรียน  การสอนไม่เป็นไปตามธรรมชาติของวิชา ขาดการเน้นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ การใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์และ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนไม่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน

ผลการทดสอบระดับชาติการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายอนันตยศ เปรียบเทียบ ปีการศึกษา 2553 - 2554                                     ปรากฏว่ามีกลุ่มสาระที่ผ่านเป้าหมายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 4.00 ตามลำดับจากมากไปหาน้อยคือ คือกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ร้อยละ 17.83) สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ร้อยละ 17.01)  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ (ร้อยละ 11.67กลุ่มสาระการเรียนรู้ ) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา (ร้อยละ10.15) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ร้อยละ9.31) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศาสนาและวัฒนธรรม (4.98) และกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่ถึงเป้าหมายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 4.00 คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (ร้อยละ 2.96 ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ร้อยละ0.84

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น
        ระดับโรงเรียน ผู้บริหารและครูมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ แสวงหาความร่วมมือและรูปแบบในการพัฒนาและจัดการศึกษาตามปัจจัยและบริบทที่โรงเรียนมีอยู่ มีการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาของนักเรียนเป็นรายบุคคลจากผลการทดสอบระดับชาติ  โครงการเยี่ยมบ้าน นำมาวางแผนพัฒนาปรับปรุงแก้ไขนักเรียนทุกคน ได้แก่การสอนเสริมหลังเรียน มีการปลูกฝังเจตคติ การไฝ่รู้ไฝ่เรียน  การแสวงหาความรู้ นอกจากนี้ครูได้มีการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน ดำเนินการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ การอ่านคล่อง  เขียนคล่อง  ทักษะการคิด  ทักษะการคิดคำนวณและ โรงเรียนยังได้รับการสนับสนุนให้ความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพ เช่น ชมรมศิษย์เก่า จัดโครงการ บ้านหลังเรียนเพื่อสอนเสริม  
        ระดับเครือข่าย มีการกำหนดทิศทางและแนวนโยบายในการจัดการศึกษาระดับฝ่ายบริหารของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย เพื่อความเป็นเอกภาพและสนับสนุน     การจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ของระดับกลุ่มเครือข่าย มีแผนปฏิบัติการของเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันในบริบทของเครือข่ายที่จะส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน  ตลอดถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันให้เกิดประโยชน์และความคุ้มค่าสูงสุด นอกจากนี้ยังได้จัดทำโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทาง     การเรียนในกลุ่มเครือข่ายโดยใช้โครงการ Teacher Mobile โดยได้จัดทำในวิชาคณิตศาสตร์   ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ
       ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ได้ให้ความรู้ในการวิเคราะห์ตัวชี้วัด การจัดทำข้อสอบ การพัฒนาข้อสอบจากโครงการทำข้อสอบ Pre O-NET และได้รับคำแนะนำจากศึกษานิเทศก์ประจำกลุ่มเครือข่ายในการวิเคราะห์ข้อมูลและนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนา ปรับปรุง การจัดทำข้อสอบ นิเทศติดตามและให้ความช่วยเหลือ      อย่างใกล้ชิด
อุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนา
         ด้านบุคลากร   ครูผู้สอนของโรงเรียนมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากการเกษียณอายุราชการปกติและก่อนกำหนดทำให้มีผลต่อการจัดการเรียนการสอน หากไม่ได้รับการแก้ไข ครูผู้สอนที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระไม่สามารถจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามโครงสร้างของหลักสูตร จัดกระบวนการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามธรรมชาติของวิชา มีความรู้ความเข้าใจทักษะในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ไม่เพียงพอ ขาดการเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์
        ด้านทรัพยากร (งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์)
-      งบจัดสรรไม่เพียงพอในการบริหารจัดการ
-      ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์มีอุปกรณ์ไม่เพียงพอ ห้องเรียนไม่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน
       ด้านนโยบายของต้นสังกัด
-      ครูได้รับการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้น้อยและไม่ทั่วถึงทุกคน
-      ครูมีภาระงานในด้านอื่น ๆ  มาก ทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่ได้ตามกระบวนการเรียนรู้
-       ขาดการนิเทศติดตาม การอำนวยการและให้การสนับสนุนโรงเรียนในด้านต่าง ๆ ที่โรงเรียนต้องการอย่างใกล้ชิด

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอเรียนเชิญทุกท่าน ร่วมแสดงความคิดเห็น โดยพิมพ์ข้อความลงในช่อง "ป้อมความคิดเห็น คลิก "แสดงความคิดเห็นในฐานะ" กรอกข้อมูลส่วนตัว แล้วคลิก "เผยแพร่" ขอบคุณครับ

    ตอบลบ